หุบป่าตาด อุทัยธานี ย้อนเวลาสู่มหายุคดึกดำบรรพ์

หุบป่าตาด อุทัยธานี ย้อนเวลาสู่มหายุคดึกดำบรรพ์ตามหากิ้งกือมังกรสีชมพู

จากตัวเมืองอุทัย เราใช้เวลาเดินทางไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงไปยังพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ถ้ำประทุน พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นถ้ำมาก่อน เมื่อหลังคาถ้ำยุบตัวลงก็กลายเป็นหุบกลางภูเขา แต่เนื่องจากมีทางเข้าออกทางเดียวจึงทำให้ระบบนิเวศน์ค่อนข้างปิดความชุ่มชื้นสูงและมีสัตว์หายากหลายชนิด

หุบป่าตาด อุทัยธานี

หุบป่าตาด อุทัยธานี

หุบป่าตาด อุทัยธานี

ทางเข้าออกดังกล่าวคือถ้ำมืดระยะทางประมาณ 40 เมตรเด็กๆ จึงอยู่ในอารมณ์ผจญภัยเต็มที่เมื่อเจ้าหน้าที่สุชาติยื่นไฟฉายให้คนละกระบอก ในถ้ำมีค้างคาวบินโฉบเป็นระยะ คำแนะนำในการส่องไฟดูค้างคาวบนเพดานคือให้ส่องไปไกลๆ ข้างหน้าอย่าส่องตรงเหนือศีรษะเพราะค้างคาวจะตกใจและถ่ายลงมาที่เราพอดี

หุบป่าตาด อุทัยธานี

หุบป่าตาด อุทัยธานี

หุบป่าตาด อุทัยธานี

เมื่อพ้นปากถ้ำเราก็ตะลึงกับภาพตรงหน้า หินงอกหินย้อยและต้นตาดสูงใหญ่ปกคลุมทั่วป่าคล้ายยุคดึกดำบรรพ์ที่มีไดโนเสาร์เดินไปมา ต้นตาดหรือต้นต๋าวนี้มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม ผลตาดคล้ายลูกชิดนำมาต้มรับประทานได้ ไม้บางต้นใหญ่ขนาด 2 คนโอบ มีรากค้ำงอกออกมาด้านข้างเรียกว่าพูพอนทำหน้าที่ประคองลำต้นไม่ให้ล้มเมื่อเผชิญพายุ เราเดินเลาะไปตามทางดินที่ปรับแต่งไว้ช่วยนักสำรวจน้อยเดินได้ง่าย ถ้าสังเกตดีๆ อาจเห็นเต่าเหลืองซึ่งเป็นเต่าบกเดินต้วมเตี้ยมอยู่ระหว่างทาง

หุบป่าตาด อุทัยธานี

หุบป่าตาด อุทัยธานี

หุบป่าตาด อุทัยธานี

เมื่อปีพ.ศ. 2550 มีนักสำรวจสมัครเล่นกลุ่ม siamensis.org ไปพบกิ้งกือมังกรสีชมพู ระหว่างสำรวจหุบป่าตาดจึงรายงานให้ ศจ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา เข้ามาศึกษาต่อ พอรายงานการค้นพบเผยแพร่ออกไปเจ้ากิ้งกือมังกรสีชมพูเลยได้รับการจัดอันดับเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก พบได้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน แม้ว่ากิ้งกือชนิดนี้จะขับสารไซยาไนต์ออกมาเพื่อป้องกันตัว แต่พิษก็น้อยเกินกว่าจะเป็นอันตรายต่อคน นั่นไม่ได้แปลว่าเด็กๆ จะไปจับเล่นได้นะ สอนให้พวกเขาสำรวจป่าด้วยสายตาและการจดบันทึกจนเป็นนิสัยดีกว่า

ที่ตั้ง

หุบป่าตาด
อ.ลานสัก อุทัยธานี
พิกัด N15.377028 E99.631172
โทรศัพท์ 0-5698-9128
โทรศัพท์ 0-5651-4651 ถึง 2 ททท. สำนักงานอุทัยธานี
เวลาทำการ 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท

Leave a Reply